วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การรักษาผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมเป็นอย่างไร

การรักษาผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมเป็นอย่างไร

แพทย์จะเลือกการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
เมื่อการรักษาแบบประคับประคองแบบการใช้ยาและการทำกายภาพไม่ได้ผล
คนไข้ยังมีอาการปวดมากจนไม่สามารถเดินได้เป็นปกติ
หรือมีอาการปวดแม้อยู่ในท่านั่งหรือนอนต้องพึ่งยาแก้ปวดตลอดเวลา
ซึ่งไม่เป็นผลดีกับคนไข้ในระยะยาว โดยสวนมากคือคนไข้ที่มีความรุนแรงของโรคมากแล้ว เช่น แขนขาที่ผิดไปหรือมีการโกงหรือบิดของข้อเข่า

การผ่าตัดเพื่อรักษาข้อเข่าเสื่อมแบ่งได้เป็น3วิธีหลักดังนี้

1. การผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องเพื่อล้างข้อ
2. การผ่าตัดด้วยวิธีแนวแกนขา
3. การผ่าตัดด้วยวิธีเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม

การที่แพทย์จะเลือกใช้วิธีไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย
ติดตามตอนต่อไปได้นะคะ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากคุณหมอ สาธิต เที่ยงวิทยาพร

สนับสนุนโดย http://youpade.com

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ภาพร่วมของการดูแลรักษาเข่าเสื่อม


ภาพร่วมของการดูแลรักษาเข่าเสื่อม

สวัสดีคะเพื่อนๆจากข้อมูลที่ให้มาทั้งหมดเราคงพอจะทราบกันแล้วว่า
โรคเข่าเสื่อมเป็นโรคที่มีการดำเนินไปช้าๆ อาจใช้เวลาจากเริ่มต้นมีอาการจนถึงข้อเสื่อมเต็มที่นานถึง10ปี โโยทั่ไปคุณอาจมีอาการของข้อเข่าเสื่อมประมาณ
40-50 ปี คุณอาจจะปวดเข่าไม่มากระยะแรก เมื่อพักการใช้งานข้อเข่า หรือรับประทานยาแก้ปวดเพียงไม่กี่วันก็หายดีจนเหมือนปกติ แต่โรคข้อเข่าเสื่อมก็ยังดำเนินอยู่ ในระหว่างนี้คุณก็ควรปฎิบัติตัวให้ถูกต้อง เพื่อชะลอการดำเนินไปของโรคให้ช้าที่สุด ได้แก่ การลดน้ำหนังหรือระวังไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น การหลีกเลี่ยงท่านั่งยองๆ คุกเข่าขัดสมาธิ หรือเดินขึ้นลงบันไดบ่อยๆ ใช้ไม้เท้าหรือลมช่วยเดินถ้ามีอาการปวดมาก รวมถึงรับประทานยาที่แพทย์จ่ายให้เป็นครั้งคราว
นอกจากนี้ไม่ควรลืมที่ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อต้นขาเป็นประจำ และพบแพทย์เมื่อมีอาการปวดมากเกินปกติ

คุณต้องพยายามทำความเข้าใจถึงธรรมชาติการดำเนินไปของโรค นี้ให้ได้ เมื่อเวลาผ่านไปอายุของคุณมากขึ้น คุณอาจมีอาการปวดเข่ารุนแรงมากขึ้น
บ่อยขึ้น ถ้าในระยะเริ่มแรกของโรคเข่าเสื่อม คุณไม่สามารถปฎิบัติตัวได้ตามที่แพทย์แนะนำ คุณก็จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มของผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของข้อเข่า
เสื่อมมากๆมีอาการปวดรุนแรงจนไม่สามารถเดินได้ หรือปวดแม้กระทั้งอยู่เฉยๆ
จนถึงแกนขาผิดรูปไปมาก แล้วสุดท้ายจะต้องลงเอยด้วยการรกษาแบบผ่าตัด
ซึ่งคนในกลุ่มนี้จะไม่มากแค่ประมาณ10เปอร์เซ็นต์ของคนไข้โรคเข่าเสื่อมเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามหากจะต้องผ่าตัดด้วยวิทยาการในการผ่าตัดในปัจจุบันพัฒนาไปมากและผลการรักษาก็ถือว่าจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่เดียว

หากใครที่ต้องผ่าตัดก็ไม่ต้องกังวลนะคะ
และคนที่เพิ่งมีสัญญานวที่เพิ่งจะเริ่มเป็นก็ควรรีบดูแลแต่เนิ่นๆตอนที่อาการยังน้อยอยู่จะเป็นการดีที่สุดคะ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากคุณหมอสาธิต เที่ยงวิทยาพร 

ท่ากายบริหารสำหรับผุ้ที่เป็นเข่าเสื่อม


ท่ากายบริหารสำหรับผุ้ที่เป็นเข่าเสื่อม

สวัสดีคะพบกันอีกครั้งนะคะสำหรับบทความนี้
จะเป็นเรื่องเกี่ยวกันท่ากายบริหารหลังจากที่บทที่แล้วเราได้ทราบถึงข้อดี
ของการออกกายบริหารกันไปแล้ว

วันนี้เรามาดูท่ากายบริหารสำหรับผู้ที่เป็นเข่าเสื่อม ลองนำไปทำกันดูนะคะ
นอกจากทานยา ควบคุมน้ำหนักแล้วเราก็สามารถทำกายบริหารช่วยด้วย
เรียกได้ว่าดูแลครบสูตรคะ

เนื่องจากว่ากล้ามเนื้อต้นขาของผู้ที่เป็นเข่าเสื่อมจะมีความแข็งแรงลดลงอย่างมากดังนั้นการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งและควรทำเป็น
ประจำสม่ำเสมอ โดยสามารถเลือกทำได้หลายวิธีดังนี้

ท่าที่1 นั่งหลังตรงบนเก้าอี้แนะนำว่าควรจะเป็นเก้าอี้ที่มีพนักเพราะป้องกันไม่ให้หงายหลังและตกเก้าอี้ โดยให้เหยียดเข่าเกร็งข้างไว้ 10 วินาที แล้วงอเข่าเหมือนเดิม ทำซ้ำวันล 100-200 รอบ ทำเป็นประจำทุกวันๆต่อเนื่องกัน เพื่อเสริม
ความแข่งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ท่านี้สามารถทำได้แม้ในขณะที่นั่งทำงาน

ท่าที่2 นอนเหยียดเข่าเกร็งค้างไว้10 วินาที แล้ววางลงทำซ้ำวันละ100200รอบ

ท่าที่3 การเคลื่อนไหวในสระน้ำหรือการว่ายน้ำเบาๆ จะช่วยให้ร่างกายกระชับกระเฉงและข้อเข่ามีการเคลื่อนไหว ที่สำคัญจะไม่มีแรงกระแทกที่ข้อเข่าจึงทำให้ไม่มีอาการปวด

ฝากเรื่องส่งท้าย.การออกกายบริหารที่พอเหมาะไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป สังเกตได้จาก 
มีความรู้สึกตึงบริเวณต้นขาหลังจากที่ออกกายบริหารเสร็จ 
ไม่มีอาการปวดเพิ่มขึ้น



 

การรักษาผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมเป็นอย่างไร


การรักษาผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมเป็นอย่างไร

แพทย์จะเลือกการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
เมื่อการรักษาแบบประคับประคองแบบการใช้ยาและการทำกายภาพไม่ได้ผล
คนไข้ยังมีอาการปวดมากจนไม่สามารถเดินได้เป็นปกติ
หรือมีอาการปวดแม้อยู่ในท่านั่งหรือนอนต้องพึ่งยาแก้ปวดตลอดเวลา
ซึ่งไม่เป็นผลดีกับคนไข้ในระยะยาว โดยสวนมากคือคนไข้ที่มีความรุนแรงของโรคมากแล้ว เช่น แขนขาที่ผิดไปหรือมีการโกงหรือบิดของข้อเข่า

การผ่าตัดเพื่อรักษาข้อเข่าเสื่อมแบ่งได้เป็น3วิธีหลักดังนี้

1. การผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องเพื่อล้างข้อ
2. การผ่าตัดด้วยวิธีแนวแกนขา
3. การผ่าตัดด้วยวิธีเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม

การที่แพทย์จะเลือกใช้วิธีไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย
ติดตามตอนต่อไปได้นะคะ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากคุณหมอ สาธิต เที่ยงวิทยาพร


วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ยาบำรุงผิวข้อคืออะไร

   ในปัจจุบันมียารับประทานอีกชนิดที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
เนื่องจากมีข้อมูลการศึกษาว่าน่าจะช่วยชะลอความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อได้ บางคนเรียกว่ายาบำรุงผิวข้อ ซึ่งเป็นสารเคมีจำพวกกลูโซามีนซัลเฟต(Glucosamine Sulphate)
และ คอนดรอยตินซัลเฟต(Chondroitin Sulphate)
    มีการศึกษา พบว่า กลูโคซามีนซัลเฟต(Glucosamine Sulphate)ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนผิวข้อไม่ให้เกิดมากขึ้นเนื่องจากเป็นสารชนิดเดียวกับที่ร่างกายจะนำไปสร้างเป็นกระดูกอ่อน อีกทั้งยังมีผลในการยัยยั้งการทำลายกระดูกอ่อนด้วย จึงเป็นการปรับสมดุลของการสร้างและการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อให้ดีขึ้นถือเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ ข้อดีอีกประการหนึ่งของสารดังกล่าวก็คือมีความปลอดภัยสูง สามารถรับประทานต่อเนื่องได้เป็นระยะเวลานาน

    ปัจจุบันมีการศึกษาในคนไข้ที่รับประทานยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานถึง 3 ปี ผลคือ ไม่พบผลค้างเคียงร้ายแรงแต่อย่างใด กลูซามีนซัลเฟตยังมีประสิทธิภาพในการลดอาการปวด กลูโคซามีนซัลเฟตที่ขายในท้องตลาด ส่วนมากสกัดจากเปลือกของสัตว์ทะเล แต่เนื่องจากกระบวนการผลิต จะสกัดมาเฉพาะสารที่ต้องการ โดยแยกเอาโปรตีนที่ก่อให้เกิดอาการแพ้อาหารทะเลออกไป จึงสามารถใช้ได้แม้ในคนที่แพ้อาหารทะเล แต่อย่างไรก็ตาม ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการควบคุมการผลิตและการศึกษารับรอง เนื่องจากในบางประเทศ เช่น ในสหรัฐอเมริกา กลูโคซามีนอยู่ในรูปของอาหารเสริม การควบคุมการผลิต
จึงน้อยกว่าผลิตภัณฑ์ที่ต้องขึ้นทะเบียน เป็นยาส่วนในประเทศไทยกลูโคซามีนต้องขึ้นทะเบียนเป็นยาเช่นเดียวกับประเทศในแถบยุโรป

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

การรักษาแแบบไม่ผ่าตัดตอนที่2

   2.การใช้ยาฉีดเข้าข้อ
   ยาฉีดเข้าข้อมี 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ กลุ่มยาต้านอักเสบกับกลุ่มยาที่ช่วยเพิ่มคุณสมบัติน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่า
การใช้ยาฉีดต้านอักเสบนั้น ในอดีตมีการฉีดยาต้านอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ลดอักเสบข้อได้ดีเยิ่ยม
สามารถระงับอาการปวดอย่างรวดเร็ว แต่ออกฤทธิ์สั้นและอยู่ได้แค่ 7 วันเนื่องจากผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้คือ ระงับกระบวนการซ้อมแซมของเนื้อเยื่อ เมื่อผู้ป่วยหาปวดเข่ามักพบว่า ส่วนใหญ่จะใช้งานข้อมากขึ้น
ข้อจึงถูกทำลายมากขึ้น ผิวข้อสึกหรอมากขึ้นและเมื่อหมดฤทธิ์ยาก็จะมีอาการปวดมากเหมือนเดิมหรือมากกว่าเดิม นอกจากนี้ผลค้างเคียงน่ากลัวกว่ายาต้านอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ก็คือการกร่อนในข้อเข่า โดย
เฉพาะการฉีดที่มีเทคนิคความปลอดเชื้อไม่ดีเพียงพอ ในปัจจุบันจึงมีผู้ใช้น้อยลง

   ส่วนยาอีกกลุ่มคือยาเพิ่มคุณสมบัติน้ำหล่อเลี้ยงข้อ ซึ่งออกฤทธิ์ช้ากว่ากลุ่มแรกแต่มีความปลอดภัยมากกว่าผลข้างเคียงน้อยกว่า และมีราคาแพงกว่ามาก อย่างไรก็ตามการใช้ยาฉีดประเภทนี้เสมือนซื้อเวลาการใช้งานข้อ เพราะมีอายุุใช้งานประมาณ3-6 เดือน และต้องฉีด3-5 สัปดาห์ต่อเนื่องกันทั้งนี้อาการปวดข้ออาจหายได้นานนับปีแต่ก็ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงเป็นสำคัญ

ขอบพระคุณข้อมูลดีๆจากคุณหมอวิไล คุปต์นิรัติศัยกุล

  การป้องกันไว้ไม่ให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมย่อมดีกว่านะคะเพื่อนๆ
  เพราะการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการป้องกันคะ

ด้วยความห่วงใย
ยุพดี กายราช

แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

เมื่อพูดถึงวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม อาจสรุปได้กว้างๆมี 2 แบบคือ การรักษาแบบผ่าตัดกับการไม่ผ่าตัดคะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงว่าเป็นมากน้อยขนาดไหน ถ้ายังเป็นไม่มากนักก็อาจใช้วิธีการรักษา
แบบไม่ผ่าตัด แต่ถ้าอาการมีความรุนแรงมากต้องเลือกการรักษาด้วยการผ่าตัด

    การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

  1. การใช้ยารับประทาน/ยาทาภายนอก/ยาพ่น
  2. การใช้ยาฉีดเข้าข้อ
  3. การฟื้นฟูข้อเข่า
  4. แพทย์ทางเลือก

  1. การใช้ยารับประทาน/ยาทาภายนอก/ยาพ่น
ส่วนใหญ่ยาที่ใช้มักจะเป็นกลุ่มยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบซึ่งมีฤทธิ์ลดปวดด้วยเช่นกัน ถ้าอาการปวดเป็นไม่มากนักอาจเริ่มด้วยการใช้ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ซึ่งมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ผลค้างเคียงน้อย ในขณะที่อาการปวดเป็นมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากการอักเสบภายในข้อเข่า ในกรณนี้
อาจจำเป็นต้องใช้ยากลุ่มต้านอักเสบซึ่งจะมีฤทธิ์ลดปวดได้ดีกว่า

   แต่การใช้ยากลุ่มนี้ต้องระวังผลค้างเคียงของยา โดยเฉพาะผลกระทบต่ออาหารและลำไส้ ซึ่งพบร่วมได้บ่อย เช่น กระเพาะอาหารอักเสบหรือแผลในกระเพาะอาหาร บางรายมีอาการถ่ายอุจระสีดำ เนื่องจาก
มีแผลเลือดออกจากภายในกระเพาะอาหาร

   นอกจากยารับประทานแล้วยังมียาทาอีกมากมายหลายชนิด บางชนิดออกฤทธิ์ลดปวดเป็นหลัก แต่บางชนิดสามารถลดอักเสบได้ด้วย ซึ่งการผสมตัวยาอาจแตกต่างกันไป  ในกลุ่มยาทาที่มีเฉพาะยาลดปวดนั้น เมื่อทาแล้วจะรู้สึกร้อนๆส่วนยากลุ่มต้านอักเสบนั้นมีการผสมตัวยาต้านอักเสบเข้าไปในเนื้อครีม
ทาแล้วมักจะรู้สึกเย็นๆโดยทั่วไปแล้วจากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า ผลที่ได้รับในการลดปวดหรือลด
อักเสบข้อนั้น แต่ถ้าใช้ยาทานานกว่านี้ ผลการรักษาก็ไม่แตกต่างกันกับการใช้ยากลุ่มยาหลอกที่ไม่มีการผสมตัวยาใดๆเลยก็ตาม

   ปัจจุบันมีการผลิตยาแก้ปวดเข่าอักเสบในรูปแบบยาพ่นซึ่งใช้สะดวก วัตถุประสงค์หลักเพื่อลดผลข้างเคียงทางเดินอาหารของยากลุ่มต้านอักเสบนี้ ประโยชน์อีกประการหนึ่งของการใช้ยาพ่น คือดูดซึมเร็วกว่าไม่เหนียวเหนอะหนะเหมือนยาทา ทำให้ถูกใจผู้ใช้ในบางรายคะ