วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การรักษาผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมเป็นอย่างไร

การรักษาผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมเป็นอย่างไร

แพทย์จะเลือกการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
เมื่อการรักษาแบบประคับประคองแบบการใช้ยาและการทำกายภาพไม่ได้ผล
คนไข้ยังมีอาการปวดมากจนไม่สามารถเดินได้เป็นปกติ
หรือมีอาการปวดแม้อยู่ในท่านั่งหรือนอนต้องพึ่งยาแก้ปวดตลอดเวลา
ซึ่งไม่เป็นผลดีกับคนไข้ในระยะยาว โดยสวนมากคือคนไข้ที่มีความรุนแรงของโรคมากแล้ว เช่น แขนขาที่ผิดไปหรือมีการโกงหรือบิดของข้อเข่า

การผ่าตัดเพื่อรักษาข้อเข่าเสื่อมแบ่งได้เป็น3วิธีหลักดังนี้

1. การผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องเพื่อล้างข้อ
2. การผ่าตัดด้วยวิธีแนวแกนขา
3. การผ่าตัดด้วยวิธีเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม

การที่แพทย์จะเลือกใช้วิธีไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย
ติดตามตอนต่อไปได้นะคะ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากคุณหมอ สาธิต เที่ยงวิทยาพร

สนับสนุนโดย http://youpade.com

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ภาพร่วมของการดูแลรักษาเข่าเสื่อม


ภาพร่วมของการดูแลรักษาเข่าเสื่อม

สวัสดีคะเพื่อนๆจากข้อมูลที่ให้มาทั้งหมดเราคงพอจะทราบกันแล้วว่า
โรคเข่าเสื่อมเป็นโรคที่มีการดำเนินไปช้าๆ อาจใช้เวลาจากเริ่มต้นมีอาการจนถึงข้อเสื่อมเต็มที่นานถึง10ปี โโยทั่ไปคุณอาจมีอาการของข้อเข่าเสื่อมประมาณ
40-50 ปี คุณอาจจะปวดเข่าไม่มากระยะแรก เมื่อพักการใช้งานข้อเข่า หรือรับประทานยาแก้ปวดเพียงไม่กี่วันก็หายดีจนเหมือนปกติ แต่โรคข้อเข่าเสื่อมก็ยังดำเนินอยู่ ในระหว่างนี้คุณก็ควรปฎิบัติตัวให้ถูกต้อง เพื่อชะลอการดำเนินไปของโรคให้ช้าที่สุด ได้แก่ การลดน้ำหนังหรือระวังไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น การหลีกเลี่ยงท่านั่งยองๆ คุกเข่าขัดสมาธิ หรือเดินขึ้นลงบันไดบ่อยๆ ใช้ไม้เท้าหรือลมช่วยเดินถ้ามีอาการปวดมาก รวมถึงรับประทานยาที่แพทย์จ่ายให้เป็นครั้งคราว
นอกจากนี้ไม่ควรลืมที่ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อต้นขาเป็นประจำ และพบแพทย์เมื่อมีอาการปวดมากเกินปกติ

คุณต้องพยายามทำความเข้าใจถึงธรรมชาติการดำเนินไปของโรค นี้ให้ได้ เมื่อเวลาผ่านไปอายุของคุณมากขึ้น คุณอาจมีอาการปวดเข่ารุนแรงมากขึ้น
บ่อยขึ้น ถ้าในระยะเริ่มแรกของโรคเข่าเสื่อม คุณไม่สามารถปฎิบัติตัวได้ตามที่แพทย์แนะนำ คุณก็จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มของผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของข้อเข่า
เสื่อมมากๆมีอาการปวดรุนแรงจนไม่สามารถเดินได้ หรือปวดแม้กระทั้งอยู่เฉยๆ
จนถึงแกนขาผิดรูปไปมาก แล้วสุดท้ายจะต้องลงเอยด้วยการรกษาแบบผ่าตัด
ซึ่งคนในกลุ่มนี้จะไม่มากแค่ประมาณ10เปอร์เซ็นต์ของคนไข้โรคเข่าเสื่อมเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามหากจะต้องผ่าตัดด้วยวิทยาการในการผ่าตัดในปัจจุบันพัฒนาไปมากและผลการรักษาก็ถือว่าจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่เดียว

หากใครที่ต้องผ่าตัดก็ไม่ต้องกังวลนะคะ
และคนที่เพิ่งมีสัญญานวที่เพิ่งจะเริ่มเป็นก็ควรรีบดูแลแต่เนิ่นๆตอนที่อาการยังน้อยอยู่จะเป็นการดีที่สุดคะ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากคุณหมอสาธิต เที่ยงวิทยาพร 

ท่ากายบริหารสำหรับผุ้ที่เป็นเข่าเสื่อม


ท่ากายบริหารสำหรับผุ้ที่เป็นเข่าเสื่อม

สวัสดีคะพบกันอีกครั้งนะคะสำหรับบทความนี้
จะเป็นเรื่องเกี่ยวกันท่ากายบริหารหลังจากที่บทที่แล้วเราได้ทราบถึงข้อดี
ของการออกกายบริหารกันไปแล้ว

วันนี้เรามาดูท่ากายบริหารสำหรับผู้ที่เป็นเข่าเสื่อม ลองนำไปทำกันดูนะคะ
นอกจากทานยา ควบคุมน้ำหนักแล้วเราก็สามารถทำกายบริหารช่วยด้วย
เรียกได้ว่าดูแลครบสูตรคะ

เนื่องจากว่ากล้ามเนื้อต้นขาของผู้ที่เป็นเข่าเสื่อมจะมีความแข็งแรงลดลงอย่างมากดังนั้นการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งและควรทำเป็น
ประจำสม่ำเสมอ โดยสามารถเลือกทำได้หลายวิธีดังนี้

ท่าที่1 นั่งหลังตรงบนเก้าอี้แนะนำว่าควรจะเป็นเก้าอี้ที่มีพนักเพราะป้องกันไม่ให้หงายหลังและตกเก้าอี้ โดยให้เหยียดเข่าเกร็งข้างไว้ 10 วินาที แล้วงอเข่าเหมือนเดิม ทำซ้ำวันล 100-200 รอบ ทำเป็นประจำทุกวันๆต่อเนื่องกัน เพื่อเสริม
ความแข่งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ท่านี้สามารถทำได้แม้ในขณะที่นั่งทำงาน

ท่าที่2 นอนเหยียดเข่าเกร็งค้างไว้10 วินาที แล้ววางลงทำซ้ำวันละ100200รอบ

ท่าที่3 การเคลื่อนไหวในสระน้ำหรือการว่ายน้ำเบาๆ จะช่วยให้ร่างกายกระชับกระเฉงและข้อเข่ามีการเคลื่อนไหว ที่สำคัญจะไม่มีแรงกระแทกที่ข้อเข่าจึงทำให้ไม่มีอาการปวด

ฝากเรื่องส่งท้าย.การออกกายบริหารที่พอเหมาะไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป สังเกตได้จาก 
มีความรู้สึกตึงบริเวณต้นขาหลังจากที่ออกกายบริหารเสร็จ 
ไม่มีอาการปวดเพิ่มขึ้น



 

การรักษาผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมเป็นอย่างไร


การรักษาผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมเป็นอย่างไร

แพทย์จะเลือกการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
เมื่อการรักษาแบบประคับประคองแบบการใช้ยาและการทำกายภาพไม่ได้ผล
คนไข้ยังมีอาการปวดมากจนไม่สามารถเดินได้เป็นปกติ
หรือมีอาการปวดแม้อยู่ในท่านั่งหรือนอนต้องพึ่งยาแก้ปวดตลอดเวลา
ซึ่งไม่เป็นผลดีกับคนไข้ในระยะยาว โดยสวนมากคือคนไข้ที่มีความรุนแรงของโรคมากแล้ว เช่น แขนขาที่ผิดไปหรือมีการโกงหรือบิดของข้อเข่า

การผ่าตัดเพื่อรักษาข้อเข่าเสื่อมแบ่งได้เป็น3วิธีหลักดังนี้

1. การผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องเพื่อล้างข้อ
2. การผ่าตัดด้วยวิธีแนวแกนขา
3. การผ่าตัดด้วยวิธีเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม

การที่แพทย์จะเลือกใช้วิธีไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย
ติดตามตอนต่อไปได้นะคะ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากคุณหมอ สาธิต เที่ยงวิทยาพร


วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ยาบำรุงผิวข้อคืออะไร

   ในปัจจุบันมียารับประทานอีกชนิดที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
เนื่องจากมีข้อมูลการศึกษาว่าน่าจะช่วยชะลอความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อได้ บางคนเรียกว่ายาบำรุงผิวข้อ ซึ่งเป็นสารเคมีจำพวกกลูโซามีนซัลเฟต(Glucosamine Sulphate)
และ คอนดรอยตินซัลเฟต(Chondroitin Sulphate)
    มีการศึกษา พบว่า กลูโคซามีนซัลเฟต(Glucosamine Sulphate)ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนผิวข้อไม่ให้เกิดมากขึ้นเนื่องจากเป็นสารชนิดเดียวกับที่ร่างกายจะนำไปสร้างเป็นกระดูกอ่อน อีกทั้งยังมีผลในการยัยยั้งการทำลายกระดูกอ่อนด้วย จึงเป็นการปรับสมดุลของการสร้างและการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อให้ดีขึ้นถือเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ ข้อดีอีกประการหนึ่งของสารดังกล่าวก็คือมีความปลอดภัยสูง สามารถรับประทานต่อเนื่องได้เป็นระยะเวลานาน

    ปัจจุบันมีการศึกษาในคนไข้ที่รับประทานยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานถึง 3 ปี ผลคือ ไม่พบผลค้างเคียงร้ายแรงแต่อย่างใด กลูซามีนซัลเฟตยังมีประสิทธิภาพในการลดอาการปวด กลูโคซามีนซัลเฟตที่ขายในท้องตลาด ส่วนมากสกัดจากเปลือกของสัตว์ทะเล แต่เนื่องจากกระบวนการผลิต จะสกัดมาเฉพาะสารที่ต้องการ โดยแยกเอาโปรตีนที่ก่อให้เกิดอาการแพ้อาหารทะเลออกไป จึงสามารถใช้ได้แม้ในคนที่แพ้อาหารทะเล แต่อย่างไรก็ตาม ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการควบคุมการผลิตและการศึกษารับรอง เนื่องจากในบางประเทศ เช่น ในสหรัฐอเมริกา กลูโคซามีนอยู่ในรูปของอาหารเสริม การควบคุมการผลิต
จึงน้อยกว่าผลิตภัณฑ์ที่ต้องขึ้นทะเบียน เป็นยาส่วนในประเทศไทยกลูโคซามีนต้องขึ้นทะเบียนเป็นยาเช่นเดียวกับประเทศในแถบยุโรป

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

การรักษาแแบบไม่ผ่าตัดตอนที่2

   2.การใช้ยาฉีดเข้าข้อ
   ยาฉีดเข้าข้อมี 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ กลุ่มยาต้านอักเสบกับกลุ่มยาที่ช่วยเพิ่มคุณสมบัติน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่า
การใช้ยาฉีดต้านอักเสบนั้น ในอดีตมีการฉีดยาต้านอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ลดอักเสบข้อได้ดีเยิ่ยม
สามารถระงับอาการปวดอย่างรวดเร็ว แต่ออกฤทธิ์สั้นและอยู่ได้แค่ 7 วันเนื่องจากผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้คือ ระงับกระบวนการซ้อมแซมของเนื้อเยื่อ เมื่อผู้ป่วยหาปวดเข่ามักพบว่า ส่วนใหญ่จะใช้งานข้อมากขึ้น
ข้อจึงถูกทำลายมากขึ้น ผิวข้อสึกหรอมากขึ้นและเมื่อหมดฤทธิ์ยาก็จะมีอาการปวดมากเหมือนเดิมหรือมากกว่าเดิม นอกจากนี้ผลค้างเคียงน่ากลัวกว่ายาต้านอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ก็คือการกร่อนในข้อเข่า โดย
เฉพาะการฉีดที่มีเทคนิคความปลอดเชื้อไม่ดีเพียงพอ ในปัจจุบันจึงมีผู้ใช้น้อยลง

   ส่วนยาอีกกลุ่มคือยาเพิ่มคุณสมบัติน้ำหล่อเลี้ยงข้อ ซึ่งออกฤทธิ์ช้ากว่ากลุ่มแรกแต่มีความปลอดภัยมากกว่าผลข้างเคียงน้อยกว่า และมีราคาแพงกว่ามาก อย่างไรก็ตามการใช้ยาฉีดประเภทนี้เสมือนซื้อเวลาการใช้งานข้อ เพราะมีอายุุใช้งานประมาณ3-6 เดือน และต้องฉีด3-5 สัปดาห์ต่อเนื่องกันทั้งนี้อาการปวดข้ออาจหายได้นานนับปีแต่ก็ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงเป็นสำคัญ

ขอบพระคุณข้อมูลดีๆจากคุณหมอวิไล คุปต์นิรัติศัยกุล

  การป้องกันไว้ไม่ให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมย่อมดีกว่านะคะเพื่อนๆ
  เพราะการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการป้องกันคะ

ด้วยความห่วงใย
ยุพดี กายราช

แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

เมื่อพูดถึงวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม อาจสรุปได้กว้างๆมี 2 แบบคือ การรักษาแบบผ่าตัดกับการไม่ผ่าตัดคะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงว่าเป็นมากน้อยขนาดไหน ถ้ายังเป็นไม่มากนักก็อาจใช้วิธีการรักษา
แบบไม่ผ่าตัด แต่ถ้าอาการมีความรุนแรงมากต้องเลือกการรักษาด้วยการผ่าตัด

    การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

  1. การใช้ยารับประทาน/ยาทาภายนอก/ยาพ่น
  2. การใช้ยาฉีดเข้าข้อ
  3. การฟื้นฟูข้อเข่า
  4. แพทย์ทางเลือก

  1. การใช้ยารับประทาน/ยาทาภายนอก/ยาพ่น
ส่วนใหญ่ยาที่ใช้มักจะเป็นกลุ่มยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบซึ่งมีฤทธิ์ลดปวดด้วยเช่นกัน ถ้าอาการปวดเป็นไม่มากนักอาจเริ่มด้วยการใช้ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ซึ่งมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ผลค้างเคียงน้อย ในขณะที่อาการปวดเป็นมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากการอักเสบภายในข้อเข่า ในกรณนี้
อาจจำเป็นต้องใช้ยากลุ่มต้านอักเสบซึ่งจะมีฤทธิ์ลดปวดได้ดีกว่า

   แต่การใช้ยากลุ่มนี้ต้องระวังผลค้างเคียงของยา โดยเฉพาะผลกระทบต่ออาหารและลำไส้ ซึ่งพบร่วมได้บ่อย เช่น กระเพาะอาหารอักเสบหรือแผลในกระเพาะอาหาร บางรายมีอาการถ่ายอุจระสีดำ เนื่องจาก
มีแผลเลือดออกจากภายในกระเพาะอาหาร

   นอกจากยารับประทานแล้วยังมียาทาอีกมากมายหลายชนิด บางชนิดออกฤทธิ์ลดปวดเป็นหลัก แต่บางชนิดสามารถลดอักเสบได้ด้วย ซึ่งการผสมตัวยาอาจแตกต่างกันไป  ในกลุ่มยาทาที่มีเฉพาะยาลดปวดนั้น เมื่อทาแล้วจะรู้สึกร้อนๆส่วนยากลุ่มต้านอักเสบนั้นมีการผสมตัวยาต้านอักเสบเข้าไปในเนื้อครีม
ทาแล้วมักจะรู้สึกเย็นๆโดยทั่วไปแล้วจากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า ผลที่ได้รับในการลดปวดหรือลด
อักเสบข้อนั้น แต่ถ้าใช้ยาทานานกว่านี้ ผลการรักษาก็ไม่แตกต่างกันกับการใช้ยากลุ่มยาหลอกที่ไม่มีการผสมตัวยาใดๆเลยก็ตาม

   ปัจจุบันมีการผลิตยาแก้ปวดเข่าอักเสบในรูปแบบยาพ่นซึ่งใช้สะดวก วัตถุประสงค์หลักเพื่อลดผลข้างเคียงทางเดินอาหารของยากลุ่มต้านอักเสบนี้ ประโยชน์อีกประการหนึ่งของการใช้ยาพ่น คือดูดซึมเร็วกว่าไม่เหนียวเหนอะหนะเหมือนยาทา ทำให้ถูกใจผู้ใช้ในบางรายคะ

     

การดูแลรักษาตนเองของคนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

   การดูแลรักษาตนเองของคนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คนไข้สามารถควบคุมอาการ
และชลอการดำเนินไปของโรคได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กัยระยะเวลาและความรุนแรงของโรคด้วย ยิ่งคนไข้ที่เพิ่งอยู่ในระยะเริ่มแรกของโรค การดูแลรักษาตัวเองที่ดีจะช่วยได้มากที่เดียว นอกจากอายุของคนไข้และความมากน้อยของการใช้งาน รวมถึงความร่วมมือในการรักษากับแพทย์ของคนไข้ ก็มีผลต่อการควบคุมอาการ

   เมื่อเริ่มมีอาการข้อเข่าเสื่อมในระยะต้นๆคุณสามารถดูแลรักษาตนเองควบคู่ไปกับการรักษาโดยแพทย์ได้ด้วยการปฎิบัติตัวง่ายๆดังนี้

   **สิ่งสำคัญมากคือการควบคุมน้ำหนัก ถ้าคุณรู้ว่าตนเองอ้วน การลดน้ำหนักจะช่วยลดภาระการรับน้ำหนักของกระดูกผิวข้อ ซึ่งจะช่วยชะลอความเสื่อมที่เกิดขึ้น สำหรับคนที่ไม่อ้วนควรจะควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากขึ้นด้วย

   **หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวหรือท่านั่งบางท่า เช่น การนั่งยองๆ การนั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ หรือนั่งขัดสมาธิ ซึ่งข้อเข่ามีการงอพับ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ไม่ควรอยู่ในท่าเหล่านี่ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ คอยสลับสับเปลี่ยนท่า เหยียดขาออกเป็นระยะ นอกจากนี้คนไข้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมอยู่แล้วการขึ้้นลงบันไดบ่อยๆ
ก็จะยิ่งทำให้ข้อเข่ามีการสึกกร่อนเร็วมากขึ้นด้วย

   **ใช้ไม้เท้าช่วยเดินเวลาที่่อาการปวดมาก และต้องเดินไกลๆ ไม้เท้าจะช่วยแบ่งน้ำหนักที่จะมาลงบริเวณข้อเข่า

   **ถ้ามีอาการปวดคุณสามารถรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล หรือยาที่แพทย์จ่ายให้เป็นครั้งคราวเพื่อบรรเทาอาการ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน1-2สัปดาห์โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าซื้อมารับประทานเองโดยไม่ได้อยู่ในความดูแลของแพทย์ เพราะอาจมีผลค้างเคียงบางอย่างได้ และควรรับประทานยาเมื่อมีอาการปวดเท่านั้น

**หมั่นออกกำลังบริหารกล้ามเนื้อข้อเข่า และกล้ามเนื้อต้นขา แต่ต้องทำอย่างถูกวิธีด้วยนะคะ
ซึ่งจะนำมาเขียนแนะนำในครั้งต่อไปคะ

  เพื่อนๆท่านไหนมีข้อมูลดีๆสามารถแบ่งปันกันได้ที่ช่องcomnentนะคะการให้ข้อมูลดีๆที่เป็นประโยชน์
ถือเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลอย่างหนึ่งคะ ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับข้อมูลดีๆของเพื่อนๆทุกคนนะคะ

  และก็ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากคุณหมอ สาธิต เที่ยงวิทยาพร

การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐนะคะ
ขอให้เพื่อนๆทุกคนมีสุขภาพที่แข็งแรงคะ

ด้วยความห่วงใย
ยุพดี กายราช

วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

รู้ได้อย่างไรว่าคุณเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

   โดยทั่วไปแพทย์จะวินิจฉัยโดยดูจากอาการ ถ้าไม่มีอาการปวดบริเวณข้อเข่า ข้อยึดติด และเสียงดังในข้อ
ก็สงสัยว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม แต่ยังต้องประกอบกับการตรวจร่างกาย และตรวจโดยดูจากฟิล์มเอ็กซเรย์ที่
ข้อเข่าเพิ่มเติมเพื่อยืนยันและดูความรุนแรงของโรคต่อไป

   จากภาพเอ็กซเรย์ในโรคข้อเข่าเสื่อม แพทย์จะดูช่องว่างระหว่างปลายของกระดูกต้นขาและส่วนบนของกระดูกหน้าแข้งลักษณะที่ดูเหมือนช่องว่างระหว่างกระดูกสองชิ้นนี้ในฟิล์มเอ็กเรย์ความจริงแล้วเป็น
กระดูกอ่อน ถ้ายิ่งมีความกว้างของช่องว่างนี้แคบลง แสดงว่ายิ่งมีการสึกกร่อนของผิวกระดูกอ่อนของข้อเข่ามากขึ้นนอกจากนี้ แพทย์ยังใช้ฟิล์มเอ็กซเรย์เป็นตัววัดประสิทธิภาพในการรักษาได้อีกด้วย และจากฟิล์ม
เอ็กซเรย์ยังช่วยให้แพทย์เห็น ว่ามีกระดูกงอขึ้นผิดปกติอยู่ในกระดูกด้วยหรือไม่

   การวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำและติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพและได้ผลดียิ่งขึ้น เนื่องจากแพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย

         ขอบคุณที่มาของข้อมูล คุณหมอ สาธิต เที่ยงวิทยาพร

อาการของข้อเข่าเสื่อมเป็นอย่างไร

   ลองสังเกตุดูอาการเหล่านี่นะคะ เมื่อคุณเป็นข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มแรก จะมีอาการปวดบวมที่ข้อเข่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเดินหรือขึ้นลงบันได อาการปวดเริ่มจากปวดน้อยๆ แล้วค่อยปวดมากขึ้น บ่อยขึ้น และจะรุนแรงมากขึ้น จนเป็นสาเหตุให้คุณเริ่มเดินในระยะทางที่น้อยลง เนื่องจากมีอาการปวดมากจนทนไม่ไหว
ไม่สามารถลงน้ำหนักบนข่อเข่าได้ ท้ายที่สุดอาจเดินไม่ได้เลย
  
   อีกอาการที่พบบ่อยมากและเป็นอาการหลักในข้อเข่าเสื่อมคือ คุณอาจรู้สึกว่าการเคลื่อนไหวสะดุดหรือไม่ราบรื่น หรือเรียกอีกอย่างว่าอาการข้อยึด ซึ่งอาการนี้จะเป็นมากในตอนเช้าๆ อาการข้อยึดติดแข็งที่มากขึ้นเรื่อยๆจะทำให้มุมที่เข่าสามารถงอเหยียดได้ลดลง ทำให้การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันต่างๆ เช่นการลุก นั่ง ก้าวขึ้นลงบันได ก้าวข้ามสิ่งกีดขวาง หรือขึ้นลงรถลำบาก

   อาการอีกอย่างของข้อเข่าเสื่อมคือ มีเสียงดังในเข่าขณะเคลื่อนไหว อาการดังกล่าวอาจเป็นมากขึ้นหลังจากเดินมากๆ หรือขึ้นลงบันได ถ้าคุณไม่ได้รับการรักษาและปล่อยให้ข้อเข่ามีการเสื่อมมากขึ้นจนถึงในระยะที่เป็นรุนแรง ข้อเข่าจะมีการโค้งผิดรูปมากขึ้นเรื่อยๆจนเห็นได้ชัด และมีการงอกของกระดูกที่ผิดปกติ จนในที่สุดจะมีอาการปวดมาก แม้ในขณะที่อยู่เฉยๆซึ่งเป็นผลให้การประกอบกิจวัตรประจำวันทำได้อยากขึ้นหรืออาจจะทำอะไรไม่ได้เลย
  
    ตอนต่อไปเรามาดูกันนะคะว่าเราจะรู้ได้อย่าไรว่าเราเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
             ขอบคุณข้อมูลจากคุณหมอ สาธิต เที่ยงวิทยาพร
        
  เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่เราต้องใส่ใจคะ
  ด้วยรัก
  ยุพดี กายราช tel.089-938-3039
 

น้ำเลี้ยงข้อเข่าน้อย..ปัญหาที่ต้องหาทางแก้ก่อนจะเดินไม่ได้ ของอาการข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าของเรามีลักษณะคล้ายกับข้อต่อ (Joint) ของเครื่องยนต์ ประกอบด้วย กระดูกผิวข้อ ซึ่งมีลักษณะเรียบลื่นเป็นมันวาว มีสีและลักษณะคล้ายกับผิวของงาช้าง

ภายในมีส่วนสำคัญมากอย่างหนึ่งก็คือ “น้ำเลี้ยงข้อ” มีลักษณะเป็นของเหลวใสอยู่ภายในช่องว่างของข้อเข่า

มีลักษณะพิเศษ คือมีความเหนียว และยืดหยุ่นได้ เหมือนไข่ขาว ทำหน้าที่ช่วยลดหรือดูดซับแรงกระแทกต่อเข่า

จะว่าไปแล้วทำหน้าที่คล้าย ๆ โช้คอัพ และช่วยหล่อลื่น ลดแรงเสียดทานของผิวข้อเหมือนกับน้ำมันหล่อลื่น หรือน้ำมันจาระบี

ลองคิดเล่น ๆ ดูว่า เราใช้เครื่องยนต์ (ข้อเข่า) ของเราคู่นี้มาครึ่งชีวิต ย่อมมีการสึกหรอ จากการศึกษาพบว่าเมื่อเราอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป น้ำเลี้ยงข้อเข่าจะมีปริมาณลดลง และเริ่มสูญเสียคุณสมบัติในการทำหน้าที่ดูดซับแรงกระแทก และการหล่อลื่นมากขึ้นเรื่อยๆเลยนะคะ

สังเกตกันไหมว่า เวลาจะลุก จะนั่ง หากเราได้ยินเสียง กร๊อบๆแกร๊บๆ นั่นหละคะ อาการกระดูกอ่อนเสียดสีกัน เพราะขาดน้ำเลี้ยงข้อเข่ามาพยุง มาป้องกันเอาไว้ไงคะ

สาเหตุเพราะคนเราอายุมากขึ้น สารตัวหนึ่ง ชื่อ ไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic) ซึ่งเป็นสารสำคัญในน้ำเลี้ยงข้อมีปริมาณลดลง…..ก่อให้เกิดการสัมผัส เสียดสีกันโดยตรงของกระดูกผิวข้อ เกิดเสียงดังเวลาขยับข้อเข่า โดยเฉพาะเวลาลุกขึ้นจากที่นั่ง หากปล่อยทิ้งไว้ กระดูกผิวข้อก็จะสึกกร่อนไปเรื่อย ๆ จนผิวข้อบางลง มีอาการอักเสบ เจ็บบริเวณหัวเข่า โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสะบ้า (กระดูกรูปสามเหลี่ยมส่วนหน้าหัวเข่า) นานวันเข้าเกิดเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมตามมาในที่สุด

คนที่นั่งงอเข่าเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนาน ๆ ต้องฝึกเหยียดเข่าบ่อย ๆ เพื่อลดแรงกดของกระดูกสะบ้ากับกระดูกปลายเข่า ร่วมกับการฝึกออกกำลังบริหารกล้ามเนื้อรอบ ๆ เข่า และต้นขา เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อให้ทำงานแบ่งเบาภาระการทำงานของข้อต่อ แต่ถ้าหากอยากป้องกันภาวะข้อเข่าเสื่อม หรือเริ่มเสื่อมไปบ้างแล้ว จะทำอย่างไรดีคะ…

ในปัจจุบันมีวิธีเติมน้ำเลี้ยงข้อเข่า เพื่อทดแทนน้ำเลี้ยงข้อที่มีการลดลง โดยการนำน้ำเลี้ยงข้อสังเคราะห์ซึ่งมีลักษณะและคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำเลี้ยงข้อปกติ มาช่วยในการป้องกันและรักษา โดยการฉีดเข้าไปในข้อเข่าที่มีอาการ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3-5 สัปดาห์ ซึ่งมีผลการรักษาอยู่ได้นานประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี ขึ้นอยู่กับสภาวะข้อที่เสื่อม

จุดประสงค์เพื่อช่วยหล่อลื่น และกระตุ้นเซลล์เยื่อบุข้อให้ทำการสร้างน้ำเลี้ยงเข่าที่ปกติขึ้นมาทดแทน เป็นวิธีที่ปลอดภัย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะเลือกให้น้ำเลี้ยงข้อเข่านี้กับผู้ที่ได้รับการรักษาโดยการรับประทานยา ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก มาแล้ว แต่ยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรนะคะ

หากใครยังไม่มีอาการใดๆเกี่ยวกับข้อเข่า ก็อย่านิ่งนอนใจนะคะ

หมั่นออกกำลังกายบริหารข้อเข่าและกล้ามเนื่อที่ใช้พยุงและช่วยในการเคลื่อนไหวของข้อเข่านอกจากนี้แล้วการใช้สารอาหารเสริมเพื่อบำรุงและเสริมการทำงานของน้ำเลี้ยงข้อเข่า และลดการทำลายของผิวกระดูกอ่อนที่ข้อเข่า ก็จะเป็นการยืดอายุและชะลอการเสื่อมของข้อเข่าลงได้มากเลยนะคะ
ทุกๆโรคเราควรจะป้องกันไว้ดีกว่านะคะกันไว้ดีกว่าแก้คะ อยากให้ทุกคนหันมาดูแลสุขภาพของตัวเองกันนะคะ

อยากเห็นคุณมีสุขภาพที่ดีคะ
ด้วยความห่วงใย
ยุพดี กายราช tel. 089-938-3039

ข้อเข่าเสื่อมและกระดูกพรุนต่างกันอย่างไร

มีคนจำนวนไม่น้อยที่นังเข้าใจผิดและคิดว่า การรับประทานแคลเซียมอยู่แล้ว
ช่วยรักษาและป้องกันข้อเข่าเสื่อมได้ด้วย ความจริงแล้วการรับประทานแคลเซียมไม่ได้ช่วยรักษาหรือป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมเลย ถ้าคุณยังเป็นอีกคนหนึ่งที่เข้าใจอย่างนั้น นั่นเป็นเพราะคุณยังสับสนและเข้าใจความแตกต่างระหว่างโรคข้อเข่าเสื่อมและโรคกระดูกพรุนคลาดเคลื่อน

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมและสึกหรอของกระดูกอ่อน ในขณะที่โรคกระดูกพรุน(Osteoporosis)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า"โรคกระดูกโปร่งบาง"เป็นโรคที่เกิดจากความหนาแน่นของกระดูกแข็งมีน้อยลง หรือมีความผิดปกติของโครงสร้าง ของกระดูกแข็ง คนไข้ที่เป็นโรคนี้ส่วนมากไม่มีอาการแสดงให้เห็น แต่จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดกระดูกหักแม้เกิดหกลมเพียงเล็กน้อย
โรคกระดูกพรุนจึงเรียกได้ว่าเป็นภัยเงียบทีเรามองไม่เห็น แต่ในคนสูงอายุบางคนอาจมีอาการที่แสดงให้เห็นได้ เช่นหลังโก่งและมีความสูงลดลง หรืออาจมีอาการปวดหลังเรื้อรังร่วมด้วย

การตรวจหาโรคกระดูกพรุนที่นิยมทำกันในปัจจุบันคือ การตรวจวัดมวลกระดูกหรือความหนาแน่นของกระดูก ซึ่งจะใช้เครื่องตรวจเฉพาะ การตรวจก็ไม่ยุ่งอยากรู้ผลเร็ว

คนที่มีความเสียงต่อกระดูกพรุนได้แก่ ผู้สูงอายุ คนที่มีรูปร่างผอมบาง และผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน อาหารและลักษณะการดำเนินชีวิตบางอย่างก็
ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนมากขึ้นด้วย เช่น การขาดแคลเซียมและวิตามิน การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย

เนื่องจากโรคกระดูกพรุนเป็นคนละโรคกับโรคคข้อเข่าเสื่อมและมีความแตกต่างกันตั้งแต่สาเหตุและอาการของโรค การรักษาจึงย่อมแตกต่างกันไปด้วย ถ้ามีอาการไม่มากหรือยังไม่มีอาการ แต่คุณคิดว่าคุณเป็นคนี่น่าจะมีความเสี่ยงและต้องการที่จะป้องกัน ก็อาจซื้อแคลเซียมที่มีขายตาใท้องตลาด ทั่วไปมารับประทานเสริมหรือรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเช่น นม หรือปลาเล็กปลาน้อย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สำหรับคนที่ทำงานอยู่ใน
ตึกตลอดทั้งวันไม่ค่อยโดนแสงแดด ร่างกายอจขาดวิตามินดี ดังนั้นควรจะหา
เวลาออกมาทำกิจกรรมกลางแจ้งบ้างก็จะดีคะ
มาถึงตรงนี่คุณคงพอจะเข้าใจความแตกต่างของทั้งสองโรคมากขึ้นแล้วนะคะแต่ถึงแม้จะเป็นคนละโรคกัน แต่ทั้งสองโรคก็สามารถส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและกิจวัติประจำวันของคุณได้มากทั้งคู่

อยากเห็นคุณมีสุขภาพที่ดีคะ
ด้วยความห่วงใย
ยุพดี กายราช tel. 089-938-3039

ใครบ้างที่จะเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

โอกาสที่คุณจะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุเนื่องจากปัจจัยที่ทำให้สมดุลระหว่างการสร้างและการทำลายผิวกระดูกอ่อนของเข่าเสียไป
อีกทั้งการใช้งานเป็นเวลานานก็ทำให้เกิดการสูญเสียผิวกระดูกอ่อนไปเรื่อยๆ
โดยปกติข้อเข่าเสื่อมมักจะเกิดขึ้นครั้งแรกตอนอายุประมาณ 30-40 ปี โดยที่อาการอาจจะยังไม่แสดงออกมากนักในระยะแรก แต่เมื่อมีอายุ 50 ปีขึ้นไป ก็จะเริ่มมีอาการมากขึ้น

ทั้งนี้ มีข้อมูลพบว่าโรคข้อเข่าเสื่อมมีความสัมพันธ์กับพันธุกรรมอีกด้วย 
กล่าวคือ ถ้าในครอบครัวของคุณมีคนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมหลายคน คุณก็อาจ
มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น หรือหากคุณเคยประสบอุบัติเหตุ
หรือได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่ามาก่อน ก็อาจเป็นสาเหตุให้คุณเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้เมื่อเวลาผ่านไป

ถ้าคุณอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวมาก ข้อเข่าของคุณต้องรองรับน้ำหนัก หรือแรงที่มากดทับมากขึ้น ทำให้เกิดการสึกกร่อนของผิวกระดูกอ่อนมากตามไปด้วย
ยิ่งถ้าคุณมีกล้ามเนื้อต้นขาที่ไม่แข็งแรง สำหรับช่วยในการเคลื่อนไหว งอเหยียดเข่าด้วยแล้ว คุณก็อาจจะพบปัญหาข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าคนอื่น

คุณผู้หญิงทั้งหลายต้องระวังโรคนี้มากกว่าคุณผู้ชาย ในเมืองไทยพบว่าคนไข้ที่มีอาการมากถึงขนาดต้องผ่าตัดผิวข้อเข่าเทียม ร้อยละ 90% เป็นผู้หญิงเนื่องจากปัจจัยความแตกต่างหลายๆอย่างเช่น ฮอร์โมน ความแข็งแรงของเอ็นและกล้ามเนื้อที่แข็งแรงน้อยกว่าเป็นต้น
อยากเห็นคุณมีสุขภาพที่ดีคะ
ด้วยความห่วงใย
ยุพดี กายราช tel. 089-938-3039

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากคุณหมอ สาธิต เที่ยงวิทยาพร

ข้อเข่าเสื่อมคืออะไร

ข้อเข่าเสื่อม(Osteoarthritis of the Knee)เป็นโรคที่เกิดจากการสึกกร่อน
ของผิวกระดูกอ่อนผิวข้อบริเวณเข่า อันเนื่องมาจากความเสื่อมของอายุขัย
และการใช้งานมาก ทำให้มีการขัดสีและถลอกของผิวกระดูกอ่อนที่หุ้มอยู่รอบเข่าจนถึงเนื้อกระดูก เปรียบเทียบได้กับกระเบื้องที่ปูพื้นบ้านมีการหลุดลอกจากพื้นบ้าน เมื่อไม่มีผิวกระดูกอ่อนมาห่อหุ้มเนื้อกระดูกที่มาชนกันขณะรับน้ำหนัก
จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวด โดยธรรมชาติแล้วกระดูกอ่อนจะถูกสร้างขึ้นมาแทนส่วนที่มีการสึกกร่อนไป แต่ในภาวะที่มีการสร้างไม่สมดุลกับส่วนที่ถูกทำลายไป
กล่าวคือมีการทำลายมากกว่าการสร้างขึ้นมาใหม่ จะทำให้เกิดภาวะของโรคข้อเสื่อมขึ้น
แต่ถ้ามีบางบริเวณหรือบางส่วนที่มีการซ่อมแซมตัวเองและพอกตัวหนาขึ้นมากกว่าเดิมเกิดเป็นกระดูกงอกขรุระขึ้นภายในข้อก็จะทำให้เคลื่อนไหวติดขัด
และมีเสียงดัง
ในคนไข้ที่มีอาการมากแล้ว พบว่ากระดูกที่มีการงอกผิดปกติ หรือมีการสึกกร่อนไปมาก จะไปทำให้แนวแกนขาผิดปกติไปจากเดิม โดยอาจมีการโก่งเข้าด้านในหรือเกบิดออกด้านนอกซึ่งเป็นสาเหตุทำให้การรับน้ำหนักของข้อเข่าผิดปกติได้

อยากเห็นคุณมีสุขภาพที่ดีคะ
ด้วยความห่วงใย
ยุพดี กายราช tel. 089-938-3039

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก นพ.สาธิต เที่ยงวิทยาพร